
Share on
ความเป็นมาของ LA SPORTIVA #2 เรื่องราวของ LA SPORTIVA ได้ก้าวเข้าสู่ตอนที่ 2 ที่จะบอกเล่าเรื่องราวหลังจากที่แบรนด์ได้ก่อตั้งใน ความเป็นมาของ LA SPORTIVA #1 ตั้งแต่ปี 1928
แบรนด์ได้ผ่านร้อนหนาวมาหลายปี และได้พบกับปัญหา เพื่อพาตนเองก้าวต่อไป เราไปดูกันว่าแบรนด์ LA SPORTIVA จัดการกับปัญหาดังกล่าวอย่างไร
ในปี 1970 La Sportiva จึงจำเป็นต้องลดการผลิตสินค้าหมวดสกี หลังจากหมดฤดูกาล ซึ่งเป็นช่วงเดียวกับที่ลูกชาย ของ Francesco เริ่มเข้ามาช่วยงานในบริษัท ลูกชายคนโตนามว่า Lorenzo Delladio มองเห็นโอกาสที่ในช่วงเวลานั้นกีฬาปีนผาเป็นที่นิยมอย่างมาก
นักปีนเขาในยุคก่อนถือว่าการเสร็จสิ้นการปีนเขา หมายถึงต้องไปถึงยอดเขา มันเหมือนการได้รับเหรียญรางวัลแห่งชัยชนะ แต่ยุคสมัยเปลี่ยนไปแล้ว นี่คือยุคของการปีนเขาที่ไม่มีที่สิ้นสุดและไม่จบสิ้น
การปีนให้เสร็จๆไปนั้น ไม่ได้มีความหมายอีกต่อไป ไม่จำเป็นต้องไปถึงจุดสูงสุด นักปีนผาให้หมายความ กับความสนุกที่ตัวเองได้รับมากกว่า มันเพียงพอแล้วที่จะออกไปปีนหน้าผา จึงทำให้การปีนเขากลายเป็นกีฬาสำหรับทุกคน
ด้วยความนิยมนี้ ทำให้บริษัทมุ่งเป้าหมายการผลิตสินค้าไปยัง รองเท้าปีนหน้าผา ในช่วงต้นของปี 80 ได้กำเนิดรองเท้าปีนผาสีเหลืองม่วง ซึ่งเป็นสีที่สะดุดตามาก
รองเท้าคู่นี้ได้รับการตั้งชื่อว่า Mariacher ตามชื่อของนักปีนผาที่ร่วมพัฒนานามว่า Heinz Mariacher นักปีนผาที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น รองเท้าถูกสร้างขึ้นโดยทีมงาน La Sportiva และได้รับการปรับแต่ง ทดลองโดย Heinz เขาได้ร่วมทดสอบและออกแบบรองเท้าแทบทุกขั้นตอน Heinz รู้เลยว่านักปีนเขากำลังรอคอยการมาถึงของรองเท้ารุ่นนี้
และก็เป็นอย่างที่ Heinz คาด La Sportiva ใช้เวลาไม่นานในการสร้างความสำเร็จของแบรนด์ไปทั่วโลก รองเท้านุ่มสวมใส่สบาย และให้การปีนที่แม่นยำ ทุกคนที่ได้ลอง รู้สึกว่าพวกเขาปีนได้ดีขึ้นและดูก็ทันสมัยมากขึ้น
Mariacher สีม่วงเหลือง กลายมาเป็นเครื่องแบบใหม่ของนักปีนผา กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งการเปลี่ยนแปลง ทำให้วิวัฒนาการของรองเท้าปีนเขาในช่วงต่อมา มีแนวคิดเกิดใหม่สามประการ คือ ต้องเบา , มีความยืดหยุ่นและที่สำคัญมีสีสันสะดุดตา
Lorenzo Delladio บุตรชายผู้ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้กุมบังเหียรของบริษัท ได้เล่าถึงช่วงเวลาที่เขาได้ค้นหายางที่จะเอามาใช้ในรองเท้าปีนผา
เนื่องจากเขาหลงใหลในการแข่งรถ อยู่เป็นทุนเดิม เขาได้ติดต่อไปที่บริษัทรถยนต์ยี่ห้อ Alfa Romeo เพราะเขาทราบมาว่า มีการใช้ยางแบบเรียบที่ไม่มีดอกยาง มาใช้บนรถแข่ง Alfa 33 Sport และยังใช้รถดังกล่าวลงแข่งชิงแชมป์โลกอีกด้วย
เขาจึงสนใจอยากหายางที่ถูกใช้ไปแล้ว เพื่อดูว่าสารประกอบของยาง จะสามารถนำมาใช้เป็นยางของรองเท้าปีนเขาได้หรือไม่ เพื่อมาปรับปรุงการยึดเกาะของพื้นรองเท้า
รถตู้ Fiat 242คันสีฟ้าของครอบครัวDelladio ที่วิ่งออกไปจากสนามแข่งที่ Balocco ไม่ได้แค่บรรทุกยางรถแข่งที่ใช้แล้วกว่ายี่สิบเส้นเต็มหลังคารถ แต่ยังคงแบกบรรทุกความหวังใหม่ไปกับ Lorenzo อีกด้วย
เขาเริ่มทำการทดสอบยาง ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายเพราะลักษณะการใช้งานของยางในการแข่งรถ ที่ใช้ความเร็วสูง อุณหภูมิของยางสูงขึ้น ทำให้ประสิทธิภาพในการยึดเกาะของยางสูงขึ้นตาม ซึ่งต่างกับกีฬาปีนผา ซึ่งแทบจะเป็นกีฬาที่ช้าที่สุดในโลก แล้วจะดึงประสิทธิภาพของยางออกมาได้ยังไง หรือจะเอารองเท้าไปตากแดดก่อนใช้…ไม่ใช่ความคิดที่ดีแน่
มีทางเดียวต้องพัฒนาส่วนประกอบของยาง Lorenzo ติดต่อไปที่บริษัทผลิตยางสำหรับรถแข่งในเวลานั้นชื่อ Marangoni ซึ่งเป็นความเหมาะเจาะ เพราะ Marangoni สามารถที่จะผลิตยางได้ตามความต้องการของลูกค้าได้ Lorenzo มองว่าเค้าต้องการพันธมิตรทางเทคโนโลยีการผลิตมากกว่าหาโรงงานผู้ผลิต ที่คอยผลิตตามออเดอร์เท่านั้น ซึ่งนำมาสู่การร่วมเป็นพาร์ทเนอร์ทางธุรกิจของทั้ง 2 บริษัท
Marangoni มีเทคโนโลยีที่โดดเด่น และยังมีความใส่ใจในรายละเอียดในกระบวนการผลิตยาง มีกระบวนการที่ต้องกดอัดยาง ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญ มีบางครั้งเกิดฟองอากาศขึ้น ทำให้พื้นยางมีคุณสมบัติไม่ตรงตามที่กำหนด ทีมงานเทคนิคของ Marangoni ทดลองใช้ผ้าฝ้ายมารองแม่พิมพ์ก่อนทำการกด เพื่อให้ผ้าฝ้ายช่วยดูดอากาศออก ซึ่งก็เป็นผลดีเกินคาด ช่วยให้ลดการเกิดฟองอากาศ แต่ตัวยางที่ถูกกดจะเกิดเป็นรอยลายตารางของเส้นใยผ้าฝ้าย แต่ก็สร้างเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว
การตกลงเป็นพันธมิตรระหว่างผู้บริหารของ Marangoni และ La Sportiva มีข้อตกลงว่า เทคโนโลยีการผลิต และสูตรในการผสมยาง ถือเป็นความรับสูงสุด ถึงขนาดที่ว่า นอกจาก Lorenzo และพ่อของเขา ไม่มีใครรู้ว่ายางชนิดนี้มาจากที่ไหน
รถตู้ Fiat 242 คันสีฟ้าคันเดิม วิ่งเข้ามาในโรงงานของ Marangoni คนขับขับมาเพียงคนเดียว Lorenzo เปิดประตูฝั่งคนขับ ลงมาจากหลังพวงมาลัย เขาเปิดท้ายรถตู้ที่ว่างเปล่า เพื่อให้คนงานขนแผ่นยางสำหรับนำไปผลิตพื้นรองเท้าขึ้นจนเต็มรถ และพร้อมที่จะแล่นกลับโรงงานของ La Sportiva
น้ำหนักของยางที่บรรทุกอาจทำให้รถตู้สีฟ้าคันเดิมวิ่งได้ช้าลง แต่ความหวังและอนาคตของบริษัทที่เขากำลังบรรทุกอยู่ต่างหาก ที่หนักอึ้งเกินกว่าเด็กหนุ่มคนนึงจะนึกถึง
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
LA SPORTIVA STORY
ความเป็นมาของ LA SPORTIVA #1
ความเป็นมาของ LA SPORTIVA #2
หัวข้ออื่นๆที่เกี่ยวข้อง
ลงทะเบียนรับข่าวสารจาก La Sportiva Thailand ได้แล้ววันนี้